วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558


การบัญชีเช่าซื้อและฝากขาย    รหัสวิชา  2201-2102

เนื้อหาการเรียนรู้

หน่วยที่ 1  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเช่าซื้อและการซื้อขายผ่อนชำระ
หน่วยที่ 2  การบันทึกบัญชีตามเกณฑ์การขายผ่อนชำระ
หน่วยที่ 3  สินค้ารับแลกเปลี่ยนและสินค้ายึดคืน
หน่วยที่ 4  ดอกเบี้ยจากการขายผ่อนชำระและขายตามสัญญาเช่าซื้อ
หน่วยที่ 5  งบการเงินตามเกณฑ์การขายผ่อนชำระ
หน่วยที่ 6  การเช่าซื้อและดอกเบี้ยจากการเช่าซื้อ
หน่วยที่ 7  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการฝากขาย
หน่วยที่ 8  การบันทึกบัญชีฝากขายสินค้า-ด้านผู้ฝากขาย
หน่วยที่ 9  การบันทึกบัญชีฝากขายสินค้า-ด้านผู้รับฝากขาย
หน่วยที่ 10  รายการฝากขายสินค้าในงบการเงินของกิจการ
  



หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเช่าซื้อและการซื้อขายผ่อนชำระ




ความหมายและลักษณะของการซื้อขายผ่อนชำระ
    การขายผ่อนชำระ (Installment Sales) คือ การขายทรัพย์สินที่กำหนดให้จ่ายชำระเป็นงวดๆ ติดต่อกันในระยะเวลาหนึ่ง ตามปกติการขายผ่อนชำระมักจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินวางเริ่มแรก (Down Payment) หรือชำระเงินค่างวดล่วงหน้าจำนวนหนึ่ง ณ ขณะขาย

         
      เนื่องจากผู้ขายต้องรอระยะเวลาเก็บเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อ   ซึ่งมักจะเป็นเวลาที่ นาน กว่าการขายเชื่อโดยปกติ      ผู้ขายจึงมักรวมดอกเบี้ยไว้ในราคาสินค้า หรือคำนวณดอกเบี้ยจากยอดของเงินที่ค้างชำระ   เปรียบเสมือนกับเป็นการให้สินเชื่อรูปแบบหนึ่ง


. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

          ลักษณะของการขายผ่อนชำระอาจทำได้หลายรูปแบบ โดยปกติมักถือว่าโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อทำสัญญาหรือส่งมอบสินค้า อย่างไรก็ตาม หากผู้ขายต้องการให้มีสิทธิการยึดสินค้าคืนตามกฎหมายกรณีทีผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ การขายผ่อนชำระประเภทนี้จะนิยมทำเป็นสัญญาซื้อขายเรียกว่า "สัญญาเช่าซื้อ" ซึ่งจะมีการโอนกรรมสิทธิ์เมื่่อผู้ซื้อชำระครบตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 5 มาตรา มาตรา 572  มาตรา 573 และมาครา 574 ได้ กำหนดเกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อไว้ ดังนี้
    มาตรา 572 มีความว่า "อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้เป็นคราว สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ"
    มาตรา 573  มีความว่า "ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ด้วยส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง"
    มาตรา 574 มีความว่า "ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติดๆ กัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญ เจ้าของทรัพย์จะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้นบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วก่อน ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครองทรัพย์นั้นได้ด้วย อนึ่ง ในกรณีกระทำผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นคราวที่สุดนั้น ท่านว่าเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนและกลับเข้าครองรัพย์สินได้เมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำหนดไปอีกงวดหนึ่ง"
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

    ความหมายของ "การเช่าซื้อ" สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสภาวิชาชีพบัญชี) ได้ให้คำจำกัดความไว้ใน"ศัพท์บัญชี" มีดังนี้
    การเช่าซื้อ (Hire Purchase) หมายความถึง การทำสัญญาระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อ โดยผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจนกว่าจะครบอายุสัญญานั้น และถ้าผู้เช่าปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกประการ กรรมสิทธิืของทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที ซึ่งในกรณีนี้ผู้เช่าซื้อต้องการเป็นเจ้าของทรัพยืสินนั้นแต่ยังไม่ชำระเงินทั้งหมดทันที
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ลักษณะของการขายผ่อนชำระ โดยสรุป  มีดังนี้
    1. ผู้ขายและผู้ซื้อมีการตกลงซื้อขายกัน โดยผู้ขายมักจะเรียกให้ผู้ซื้อชำระเงินวางเริ่มแรก (Down Payment)  และยินยอมให้ผู้ซื้อจ่ายชำระเงินในส่วนที่่คงค้างเป็นงวดเรียกว่า "เงินค่างวด" ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปมักเป็นระยะเวลาที่ยาวกว่าการขายเชื่่อปกติ
    2. ผู้ขายมีเงินกิจการจมอยู่ในลักษณะของบัญชีลูกหนี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากระยะเวลาเก็บหนี้ยาวนาน ผู้ขายจึงมักมีการเก็บดอกเบี้ยจากผู้ซื้อ เพื่อนำไปชำระเป็นดอกเบี้ยจ่ายของเงินลงทุน
    3. เมื่่อมีการตกลงซื้อขายกัน ผู้ขายจะส่งมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อทันที โดยปกติกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์จะโอนเป็นของผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อได้ชำระเงินครบถ้วนแล้ว
    4. เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระตามระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด ผู้ขายมีสิทธิยึดสินค้าคืนจากลูกหนี้ กรณีเช่น ผู้ขายมักจัดทำสัญญาในลักษณะของ "สัญญาเช่าซื้อ"
    5. ผู้ขายมีภาระหรือความเสี่ยงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายภายหลังการขายค่อนข้างสูง เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ และค่าใช้จ่ายในการยึดคืนสินค้า เป็นต้น

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
หลักการบัญชีเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายผ่อนชำระ
          ตามหลักการบัญชีกำไรของกิจการ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการจำหน่ายสินค้านั้นได้ เช่น กิจการจำหน่ายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จึงแสดงยอดขายสินค้าเป็นรายได้ในงวดบัญชีที่มีการจำหน่ายสินค้านั้นโดยไม่จำเป็นต้องรอการเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ก่อน แต่ในกรณีการขายผ่อนชำระ มีระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ที่ยาวนาน ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการเก็บหนี้ ประกอบกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายผ่อนชำระ เกิดขึ้นในงวดบัญชีภายหลังเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องกระจายไปในหลาย ๆ งวด

          ดังนั้นจึงมีการยอมรับหลักการบัญชีที่ว่า รายได้จากการขายผ่อนชำระ ยังไม่ถือเป็นรายได้จนกว่าจะเก็บเงินได้ หลักการบัญชีโดยรอการถือเป็นรายได้จากการขายเงินผ่อนไว้จนกว่าจะเก็บเงินค่าสินค้าได้ เรียกว่า หลักการบัญชีตามเกณฑ์การขายผ่อนชำระ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากร การปฏิบัติตามหลักการบัญชีตามเกณฑ์การขายผ่อนชำระได้รับการสนับสนุนจากกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร ซึ่งเป็นผลทำให้กิจการสามารถเลื่อนการชำระภาษีเงินได้ออกไป จนกว่าจะเก็บเงินค่าสินค้านั้นได้ 























1 ความคิดเห็น: